เมนู

คาถาที่ 36


คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงกระทำประทักษิณ
พระนคร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ สัตว์ทั้งหลายมีหัวใจหมุนไปแล้ว เพราะ
ความงามแห่งพระวรกายของท้าวเธอ จึงไปข้างหน้าบ้าง ไปข้างหลังบ้าง ไป
โดยข้างทั้งสองบ้าง ก็ยังกลับมาแหงนดูพระราชาพระองค์นั้นแล ก็ตามปกติ
แล้ว ชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดูพระจันทร์เพ็ญ สมุทร
และพระราชา.
ในขณะนั้น แม้ภรรยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ขึ้นปราสาทชั้นบน เปิด
หน้าต่าง ยืนแลดูอยู่ พระราชาพอทรงเห็นนางเท่านั้น ก็มีพระราชหฤทัย
ปฏิพัทธ์ จึงตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจงรู้ก่อนว่า สตรีนี้มีสามีแล้ว
หรือยังไม่มีสามี. อำมาตย์นั้นไปแล้ว กลับมาทูลว่า มีสามีแล้ว พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า ก็สตรีนักฟ้อน 20,000 นาง
เหล่านี้ อภิรมย์เราคนเดียวเท่านั้น ดุจเหล่านางอัปสร บัดนี้ เรานั้นไม่ยินดี
ด้วยนางเหล่านั้น เกิดตัณหาในสตรีของบุรุษอื่น แม้ตัณหานั้นเกิดขึ้นก่อน ก็
จะฉุดไปสู่อบายเท่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงเห็นโทษของตัณหาแล้ว ทรงพระราช
ดำริว่า เอาเถิด เราจะข่มตัณหานั้น ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญ
วิปัสสนาอยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถา
นี้ว่า

ตณฺหกฺขยํ ปฏฺฐยํ อปฺปมตฺโต
อเนลมูโค สุตฺวา สติมา
สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกลปฺโป

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึง
เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้ มี
การสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว
เป็นผู้เที่ยง มีเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขยํ ได้แก่ พระนิพพาน หรือ
ความไม่เป็นไป แห่งตัณหาที่มีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง. บทว่า
อปฺปมตฺโต ได้แก่ ผู้มีปกติกระทำติดต่อ.
บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าน้ำลาย. อีกอย่างหนึ่ง คน
ไม่บ้าและคนไม่ใบ้ เป็นบัณฑิต มีอธิบายว่า คนเฉลียวฉลาด.
สุตะอันให้ถึงหิตสุข ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น
ชื่อว่า สุตวา มีการสดับ มีอธิบาย ผู้ถึงพร้อมด้วยอาคม. บทว่า สติมา
ได้แก่ ผู้ระลึกถึงกิจทั้งหลายที่ทำไว้นานเป็นต้นได้. บทว่า สงฺขาตธมฺโม
ได้แก่ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการพิจารณาธรรม. บทว่า นิยโต
ได้แก่ ถึงความเที่ยง ด้วยอริยมรรค. บทว่า ปธานวา ได้แก่ถึงพร้อมแล้ว
ด้วยวิริยคือ สัมมัปปธาน.

บาลีนั้น พึงประกอบสับเปลี่ยนลำดับว่า บุคคลผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น มีเพียร ด้วยความเพียร
อันให้ถึงความเที่ยง เป็นผู้เที่ยง โดยถึงความเที่ยง ด้วยความเพียรนั้น แต่นั้น
มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการบรรลุพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้ ก็พระ-
อรหันต์ เรียกว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึงกำหนด
รู้อีก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีธรรม
อันตนกำหนดแล้วแล และพระเสขะและปุถุชนเหล่าใด มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้.
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ตัณหักขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 37


คาถาว่า สีโห ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง มีพระราชอุทยานอยู่
ในที่ไกล พระองค์ต้องเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จ
ลงจากพระยานในระหว่างมรรคา ด้วยพระราชดำริว่า เราไปสู่ท่าน้ำแล้วจัก
ล้างหน้า ก็ในประเทศนั้น นางราชสีห์ตกลูกราชสีห์แล้วไปหากิน ราชบุรุษ
เห็นลูกราชสีห์นั้นแล้ว ทูลว่า ลูกราชสีห์ พระเจ้าข้า พระราชาทรงพระราช
ดำริว่า ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่กลัวใคร จึงตรัสสั่งให้ตีวัตถุมีกลองเป็นต้น เพื่อ
ทดลองลูกราชสีห์นั้น ลูกราชสีห์ฟังเสียงนั้น ก็นอนตามเดิม พระราชาตรัสสั่ง
ให้ตีวัตถุถึงสามครั้ง ในครั้งที่ 3 ลูกราชสีห์ก็ชูศีรษะขึ้น แลดูบริษัททั้งหมด
แล้วนอนเหมือนเดิม.